|
|
|
|
|
Photo Gallery อินทนิลน้ำ |
|
|
|
|
|
|
|
|
ดอก |
|
ผลดิบ |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Lagerstroemia speciosa (L.) Pers |
|
|
ชื่อวงศ์ :
LYTHRACEAE |
|
|
ชื่อสามัญ :Queen's Flower , Pride of India , Jaral Flos-reaginae |
|
|
ชื่อไทย : อินทนิลน้ำ |
|
|
ชื่ออื่น :ตะแบกดำ อินทนิล ฉ่อพนา ฉ่วงมู ซอง บาเย |
|
|
นิเวศวิทยา
ถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อน อินเดีย ประเทศไทยพบได้ทั่วไปในป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดิบ บริเวณที่ราบลุ่มที่ชื้นและริมฝั่งแม่น้ำลำธาร
|
|
|
|
|
|
|
การขยายพันธุ์ เมล็ด |
|
|
|
|
|
|
|
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูง 8 - 15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลมรีหรือ รูปไข่หรือทรง
กระบอก มักมีกิ่งก้านขนาดใหญ่และชูขึ้นข้างบน กิ่งจะแผ่กว้างคลุมลำต้นกว้าง
ประมาณ 3 ใน 4 ส่วนของความสูง โคนต้นไม่มีพูพอน |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เปลือก สีน้ำตาลอ่อน ค่อนข้างเรียบ หรืออาจมีสะเก็ดของเปลือกลอกออกเป็น
แผ่นบาง ติดอยู่บ้างประปราย บริเวณลำต้นมักจะมีปุ่มปมหรือรอยแผลเป็นของกิ่ง
ที่หลุดร่วงไปปรากฏอยู่ เนื้อเปลือกชั้นในสีชมพูอ่อน |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ หรือออกตรงกันข้ามเยื้องกันเล็กน้อย รูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 11 - 16 เซนติเมตร ยาว 20 - 25 เซนติเมตร จัดเป็นใบขนาดใหญ่ แผ่นใบ
ค่อนข้างหนา ผิวเกลี้ยงเป็นมันปรากฏร่องรอยเส้นแขนงชัดเจน ปลายใบแหลมมน โคนใบสอบแคบและมน สีเขียวเข้ม ก้านใบยาว 1.0 - 1.5 เซนติเมตร
ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ดอก สีชมพูแก่หรือม่วงอ่อน ออกเป็นช่อบริเวณปลายกิ่ง หรือตามซอกใบใกล้ ๆ
ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปถ้วย หรือรูปกรวย มีสันนูนเล็กน้อยพอมองเห็น 12 สัน มีขนปกคลุมบาง ๆ ปลายแยกเป็น 6 แฉก กลีบดอก 6 กลีบแยกออกจากกันเป็นแผ่น
กลมคล้าย รูปโล่บางและยับย่น ขอบบิดย้วย กว้าง 2.5 3.0 เซนติเมตร โคนก้าน
กลีบดอกเป็น ก้านเรียวเล็ก ๆ เมื่อบานเต็มที่กว้าง 8 - 11 เซนติเมตร กลีบดอกแผ่ออกเต็ม ที่เป็นมุมฉาก กับกลุ่มเกสรเพศผู้ที่ มีอยู่จำนวนมาก ออกรวมกันเป็นกระจุกสี เหลืองอยู่กลางดอกเกสรเพศเมีย และรังไข่ เป็นรูปรีภายในแบ่งออกเป็นช่อง 5 - 6 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อนอยู่จำนวนมาก |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ผล เป็นผลแห้งรูปรีหรือรูปกระสวยผิวเกลี้ยง กว้าง 1.0 1.2 เซนติเมตร ยาว 2 3 เซนติเมตร มีรอยผ่าเป็นร่องอยู่ด้านข้างผล ปลายมีติ่งแหลม เปลือกแข็ง ผลอ่อนสีเขียวอมน้ำตาล ผลแก่สีน้ำตาลอมดำ เมื่อแก่จัดจะแตกจากปลายผลและแยกออกเป็น 5 - 6 แฉก |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลเข้ม แบนบางและมีปีกสั้น ๆ เป็นรูปสามเหลี่ยมกว้าง 0.3 0.5 เซนติเมตร ยาว 0.7 0.9 เซนติเมตร อัดกันแน่นอยู่ภายในช่องแต่ละช่องของผล |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ประโยชน์
อินทนิลน้ำเป็นไม้เนื้อแข็ง เสี้ยนตรง เลื่อยและไสกบได้ง่าย ขัดเงาได้สวยงามนิยมนำไม้มา ใช้ทำเครื่องเรือนและเครื่องมือทางการเกษตร เช่น กระดานพื้น เสา ไถ สาก ครก และเกวียน เป็นต้น ใบนำมาต้มกับน้ำดื่มแก้โรคเบาหวาน ปัสสาวะพิการ ลดน้ำตาลในเลือด เปลือกมีรสฝาด ใช้ลดไข้ แก้ท้องเสีย รากรักษาโรคในปาก เมล็ดแก้เบาหวาน ช่อยทำให้นอนหลับอินทนิลน้ำเป็นไม้ที่มีรูปทรง ลำต้นเรือนยอดเป็นพุ่มสวยงาม และการเจริญเติบโตแตกกิ่งก้านค่อนข้างช้า ทรงพุ่มไม่กว้างใหญ่ และกินพื้นที่มากนัก ประกอบกับมีใบใหญ่หนาแน่น ให้ร่มเงาได้ดีมาก เมื่อออกดอกช่อดอก มีสีสันสวยงามเด่นสะดุดตา โดยเฉพาะช่อดอกที่แทงทะลุทรงพุ่มให้เห็นเด่นชัด ดอกบานทนพอสมควร และในช่วงการออกดอกก็ยังไม่ทิ้งใบทั้งหมด โรคแมลงรบกวนน้อยมากมีเพียงกาฝากเป็นศัตรูที่สำคัญ ดังนั้นพันธุ์ไม้ชนิดนี้ จึงเหมาะแก่การนำมาปลูกประดับบ้าน หรือสถานที่ต่าง ๆ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
บริเวณที่ปลูก สวนมิตรสัมพันธ์ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เรียบเรียงและถ่ายภาพ โดย รศ.ชนะ วันหนุน |